www.champzaza14.blogspot.com

วันจันทร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ประวัติลีลาวดี



ประวัติดอกลีลาวดี






ชื่อวิทยาศาสตร์:  Plumeria spp.
ชื่อวงศ์:  Apocynaceae
ชื่อสามัญ:  Frangipani , Pagoda tree, Temple tree
ชื่อพื้นเมือง:  ลั่นทม
ลักษณะทั่วไป:
    
ต้น  เป็นไม้ยืนต้น มีขนาดตั้งแต่พุ่มเตี้ยแคระสูงประมาณ 0.9-1.2 เมตร จนถึงต้นที่สูงมาก อาจสูงถึง 12 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านสขาและพุ่มใบสวยงาม มีน้ำยางสีขาวข้น เป็นไม้ผลัดที่สลัดใบในฤดูแล้งก่อนที่จะผลิดอกและผลิใบรุ่นใหม่ กิ่งที่ยังไม่แก่มีสีเขียว อ่อนนุ่ม ดูเกือบจะอวบน้ำ กิ่งแก่มีสีเทามีรอยตะปุ่มตะป่ำ กิ่งไม่สามารถทานน้ำหนักได้ กิ่งเปราะ เปลือกลำต้นหนา ต้นที่โตเต็มที่แล้วจะพัฒนาจนกระทั่งมีความแข็งแรงมากขึ้น
    
ใบ  เป็นใบเดี่ยว มีการเรียงตัวแบบสลับและหนาแน่นใกล้ปลายกิ่ง มีลักษณะแตกต่างกันไปทั้งรูปร่าง ขนาด สี และความหนาแน่น โดยทั่วไป ใบจะหนา เหนียวแข็ง และมีสีตั้งแต่สีเขียวอ่อนถึงสีเขียวเข้ม มีเส้นกลางใบแตกสาขาออกไปคล้ายขนนก ขนาดใบแตกต่างกัน
ช่อดอก ดอกจะผลิออกมาจากปลายยอดเหนือใบ เห็นเป็นช่อดอกใหญ่สวยงาม แต่ก็มีบางชนิดที่ออกช่อดอกระหว่างใบ หรือใต้ใบ บางชนิดห้อยลงบางชนิดตั้งขึ้น ในหนึ่งช่อจะมีดอกบานพร้อมกัน 10 – 30 ดอก บางต้นที่มีความสมบูรณ์เต็มที่อาจมีดอกมากกว่า 100 ดอก ต่อ 1 ช่อ ออกดอกประมาณเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน บางพันธุ์สามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี
    
ดอก  โดยทั่วไปจะมีขนาดใหญ่ถึงกลาง ยกเว้นบางพันธุ์ที่มีขนาดเล็ก กลีบดอกมี 5 กลีบ เกสรตัวผู้ เกสรตัวเมีย อยู่ลึกเข้าไปข้างใน ดอกมีลักษณะคล้ายท่อ ทำให้มองไม่เห็นเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมีย โดยจะมีเกสรตัวผู้ 5 อัน อยู่ที่โคนก้านดอก ส่วนเกสรตัวเมียอยู่ลึกลงไปในก้านดอก เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียบานไม่พร้อมกัน ยากต่อการผสมตัวเอง
    
ฝัก/ผล  มีลักษณะคล้ายกับฝักต้นชวนชม ฝักอ่อนสีจะมีสีเขียวเมื่อแก่ฝักจะมีสีแดงถึงดำ
การปลูก:  ปลูกในกระถาง ปลูกลงดินในแปลงปลูก
การขยายพันธุ์:  
    -    
การเพาะเมล็ด  จะใช้ฝักที่แก่จัด  ส่วนใหญ่ใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ ซึ่งเมล็ดลีลาวดีงอกได้ง่าย แต่ละฝักของลีลาวดีจะได้ต้นกล้าประมาณ  50 -100  ต้น สามารถเพาะในกระถางเพาะได้เลย ข้อดี   ของการเพาะเมล็ดลีลาวดี คือ จะได้ต้นที่กลายพันธุ์  หรือ ต้นลีลาวดีแคระ ด่าง
    -    
การปักชำ  เป็นวิธีที่ง่าย รวดเร็วในการขยายพันธุ์ต้นลีลาวดีและยังเป็นวิธีรักษาพันธุ์เดิมเอาไว้
    -    
การเปลี่ยนยอด จะใช้ในกรณีที่ได้พันธุ์ดีแล้วนำมาเปลี่ยนยอดบนต้นตอที่เพาะกล้าไว้แล้วอาจ จะเสียบข้างหรือผ่าเป็นลิ่ม วิธีนี้ต้องป้องกันไม่ให้น้ำเข้า ไม่เช่นนั้นแผลจะเน่า
    -    
การติดตา ใช้ในกรณีที่ได้ตามีไม่มากนัก เป็นการขยายพันธุ์แบบประหยัด กิ่งหนึ่งสามารถขยายพันธุ์ได้เป็นจำนวนมาก
การใช้ประโยชน์:
    -    
ไม้ประดับ
    -    
สมุนไพร

ประวัติดอกชบา



         ประวัติดอกชบา





ชบาพืชที่พบได้ทั่วไปในส่วนต่างๆ ของโลกมีถิ่นกำเนิดเป็นบริเวณกว้างใขเขตร้อนชื่น จากสมมุติฐานของ Ross Gast ในหนังสือ Genetic History of Hibibiscus rosasinensis บันทึกว่า ชบามีการกระจายพันธุ์เริ่มจากอินเดีย ซึ่งมีการนำชบามาใช้ประโยชน์ในกลุ่มชาวโพลินนีเซียน ต่อมาจึงแพร่หลายไปสู่จีน และบริเวณหมู่เกาะแปซิฟิก โดยนำชบาดอกสีแดง ( ปัจจุบันคือ Hibiscus rosasinensis ) ที่เรียกกันว่า กุหลาบจีน หรือ ” Rose of China ” ซึ่งมี ทั้งกลีบดอกชั้นเดียวและดอกซ้อนมาใช้เป็นไม้ดอกไม้ประดับ มีการสะสมพันธุ์   และส่งไปประเทศในแถบยุโรป
          ชบาแพร่เข้าสู่ยุโรปครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2221 โดย Van Reed ซึ่งเป็นชบาสีแดงกลีบดอกซ้อน ต่อมาในปี พ.ศ. 2275 Philip Miller และคณะได้นำชบาพันธุ์ดอกซ้อนและพันธุ์อื่น ๆ เข้าไปเผยแพร่ในอังกฤษ โดยนำมาปลูกสะสมพันธุ์ที่ The Chelsea Physic Garden และทดลองผลิตลูกผสม แต่ยังไม่แพร่หลายนัก ซึ่งในขณะนั้นใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hibiscus javanica เพราะเข้าใจว่าชบาที่นำเข้ามาเป็นพืชพื้นเมืองของเกาะชวา (Java)ของอินโดนีเซีย ต่อมากัปตันคุกและคณะได้เดินเรือสำรวจหมู่เกาะในแถบมหาสมุทรแปซิฟิกไปพบชบากลีบดอกซ้อนสีแดงปลูกอยู่ทั่วไป
การปลูกชบาในฮาวายมีความนิยมมากว่า 100 ปีแล้ว  ในช่วงแรกมีการนำชบาสีแดงกลีบดอกชั้นเดียวจากจีนมาผสมกับพันธุ์พื้นเมืองของฮาวาย และพู่ระหง เพื่อผลิตลูกผสมที่มีลักษณะแปลกใหม่ โดยในปีพ.ศ.2457 GERNIT  WILDER เป็นบุคคลแรกที่รวบรวมพันธุ์ชบาและนำมาจัดแสดงได้มากถึง 400 พันธุ์ ในปีต่อมาจึงเรื่มมีผู้ให้ความสนใจและผลิตลูกผสมที่มีรูปร่างและสีสันแตกต่างกันออกมามากมาย จนในปี พ.ศ.2466 มีการออกกฎหมายประกาศให้ชบาเป็นดอกไม้ประจำ
                   นับเป็นอีกก้าวหนึ่งของการพัฒนาชบาพันธุ์ลูกผสม ๆ โดยนักปรับปรุงพันธุ์อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับการเข้ามาสู่ประเทศไทยของชบานั้นไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าเมื่อใด  แต่ก็มีเรื่องราวของดอกพุดตาน  [  Hibicus mutabilis  ]  ซึ่งเป็นพืชในสกุล ชบาปรากฏอยู่ในหนังสือไตรภูมิพระร่วง วรรณกรรมสมัยสุโขทัย กล่าวถึงการใช้ดอกพุดตานในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ( เป็นสัญลักษณ์ของการผลัดแผ่นดิน เพราะดอกพุดตานจะเปลี่ยนสีไปตามอุณหภูมิของวันนั่นเอง ) จึงน่าเชื่อได้ว่าจะมีการปลูกเลี้ยงพืชสกุลชบาในประเทศไทยกันแล้วในสมัยสุโขทัยและสันนิษฐานว่าคงจะนำเข้าจากประเทศจีนที่มีการติดต่อค้าขายกันอยู่ในสมัยนั้น นอกจากนี้ในสมัยโบราณคนไทยยังมีประเพณีและความเชื่อที่ได้รับอิทธิพลมาจากอินเดียในด้านที่ไม่เป็นมงคล  เช่น  การใช้ดอกชบาคล้องคอนักโทษประหาร เพื่อประจานความผิด  แต่ในปัจจุบันความเชื่อนี้ได้ลดน้อยลงจนแทบไม่เห็นร่องรอยเดิม  ขณะเดียวกันก็มีความเชื่อที่เป็นสิริมงคลเกี่ยวกับชบา  เช่น  คนปีกุนที่ปลูกบ้านใหม่จะใช้ดอกชบาและใบทองพันชั่งวางก้นหลุมรองเสาเอกของบ้าน  เพราะเชื่อว่าจะทำให้เจ้าของบ้านร่ำรวย จึงกล่าวได้ว่า ชบาเป็นพืชที่มีความผูกพันกับคนไทยมาช้านาน  นิยมนำมาปลูกประดับบ้าน เพราะดูแลรักษาง่ายและออกดอกสวยงามตลอดปี


ประวัติกล้วยไม้



ประวัติดอกกล้วยไม้





กล้วยไม้เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ในวงศ์ Orchidaceae เป็นไม้ตัดดอกยอดนิยม เนื่องจากมีลักษณะดอกและสีสันลวดลายสวยงาม เป็นไม้ตัดดอกที่มีอายุการใช้งานได้นาน กล้วยไม้เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญของไทย เพราะเป็นไม้ส่งออกขายต่างประเทศทำรายได้เข้า ประเทศปีละหลายร้อยล้านบาท มีการปลูกเลี้ยงอย่างครบวงจร ตั้งแต่การผสมเกสร เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เลี้ยงลูกกล้ายไม้ เลี้ยงต้นกล้ายไม้จน กระทั่งให้ดอก ตัดดอกบรรจุหีบห่อและส่งออกเอง
แหล่งกำเนิดกล้วยไม้ป่าที่สำคัญของโลกมี 2 แหล่งใหญ่ๆ ด้วยกันคือ ลาตินอเมริกา กับเอเชียแปซิฟิค สำหรับในลาตินอเมริกาเป็น อาณาบริเวณอเมริกากลางติดต่อกับเขตเหนือของอเมริกาใต้ ส่วนแหล่งกำเนิดกล้วยไม้ป่าในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิค มีประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง จากการค้นพบประเทศไทยมีพันธุ์กล้วยไม้ป่าเป็นจำนวนมาก แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวยต่อการเจริญงอกงามของ กล้วยไม้มาก และกล้วยไม้ป่าที่ในพบในภูมิภาคแถบนี้มีลักษณะเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง แตกต่างจากกล้วยไม้ในภูมิภาคลาตินอเมริกา
การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ในประเทศไทย จากการสำรวจในอดีตพบว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีกล้วยไม้อยู่ในป่าธรรมขาติ ไม่ต่ำกว่า 1,000 ชนิด ทั้งประเภทที่พบอยู่บนต้นไม้ บนพื้นผิวของภูเขาและบนพื้นดิน สรุปได้ว่าสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติของประเทศไทยเอื้ออำนวยแก่การเจริญงอกงาม ของกล้วยไม้เป็นอย่างมาก ในอดีตชาวชนบทของไทย โดยเฉพาะในแหล่งที่เคยมีกล้วยไม้ป่าอุดมสมบูรณ์ ได้นำกล้ายไม้ป่ามาปลูกเลี้ยงโดยเลียนแบบธรรมชาติ โดยนำกล้วยไม้มาปลูกไว้กับต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ไกล้ๆ บ้านเรือน การเลี้ยงกล้วยไม้เริ่มเปลี่ยนมาเป็นการปลูกเลี้ยงอย่างจริงจังโดยชาวตะวัน ตกผู้หนึ่ง ที่เข้ามาทำธุรกิจในประเทศไทย เห็นว่าสภาพแวดล้อมของประเทศไทยเหมาะสมสำหรับการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ จึงได้สร้างเรือนกล้วยไม้อย่างง่ายๆ และนำเอากล้วยไม้ป่าจากเขตร้อนของอเมริกา ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดกล้วยไม้ป่าแหล่งใหญ่แหล่งหนึ่งของโลก ซึ่งมีลักษณะแตกต่างจากกล้วยไม้ในเอเชียและเอเซียแปซิฟิค โดยนำมาปลูกเลี้ยงเป็นงานอดิเรกในขณะเดียวกันก็มีเจ้านายชั้นสูงและบรรดา ข้าราชการที่ใกล้ชิด ให้ความสนใจเลี้ยงกล้วยไม้เป็นงานอดิเรกเช่นกัน นอกจากนั้นก็ยังมีกลุ่มบุคคลสูงอายุซึ่งเลี้ยงกล้วยไม้เพื่อความสุขทางใจ การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ อย่างไรก็ตามการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ยังคงจำกัดอยู่ในวงแคบ คือ ในกลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มผู้มีเงินในยุคนั้น และเป็นการปลูกเลี้ยงที่นิยมกล้วยไม้พันธุ์ต่างประเทศ ส่วนกล้วยไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในป่าของประเทศไทยจะนิยมและยกย่องเฉพาะพันธุ์ ที่หายากและมีราคาแพง
หลังการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองในปี 2475 สภาพการเลี้ยงก็ยังคงจำกัดอยู่ในวงแคบเช่นเดิม แต่ผลงานเกี่ยวกับการผสมพันธุ์กล้วยไม้ในต่างประเทศเริ่มมีอิทธิพลกระตุ้น ให้ผู้เกี่ยวข้องกับวงการกล้วยไม้ในประเทศไทยสนใจกล้วยไม้ลูกผสมมากขึ้น มีการสั่งกล้วยไม้ลูกผสมจากประเทศในทวีปยุโรป สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย เพื่อนำเข้ามาปลูกเลี้ยงในประเทศไทย การพัฒนาการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ เป็นไปอย่างจริงจัง เมื่อประมาณปี 2493 โดยได้มีการวิจัย นับตั้งแต่การรวบรวมปลูกในระดับพื้นฐาน ต่อมาในปี 2497 ได้เริ่มเปิดการฝึกอบรมการเลี้ยงกล้วยไม้ให้แก่ประชาชนผู้สนใจทั่วไป และมีการจัดตั้งชมรมกล้วยไม้ขึ้นในปี 2498 ซึ่งต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นสมาคมกล้วยไม้เมื่อปี 2500 และในปีเดียวกันนี้ ได้เริ่มมีการนำเอาความรู้ในเรื่องกล้วยไม้และแนวความคิดในการพัฒนาวงการ กล้วยไม้ออกเผยแพร่ทั้งทางโทรทัศน์และวิทยุ และมีการผลิตเอกสารสิ่งพิมพ์เผยแพร่ ทำให้วงการกล้วยไม้ของประเทศไทย ขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวาง จนกระทั่งมีการจัดตั้งสมาคมและสโมสรเกี่ยวกับกล้วยไม้ขึ้นในภาคและจังหวัด ต่างๆ ในปี 2501 ได้มีการเปิดการสอนวิชากล้วยไม้ขึ้นในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นครั้งแรก เพื่อผลิตนักวิชาการและพัฒนางานวิจัยกล้วยไม้ของประเทศ และเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ไม่ได้จำกัดอยู่ภายในวง แคบอีกต่อไป จากการส่งเสริมดังกล่าว ทำให้มีการนำเข้ากล้วยไม้ลูกผสมจากต่างประเทศ เช่น จากฮาวายและสิงคโปร์จำนวนมากยิ่งขึ้น ทำให้ผู้ที่มีความรู้หันมารวบรวมพันธุ์ผสมและเพาะพันธุ์จากพ่อแม่พันธุ์ใน ประเทศ ทั้งที่เป็นพ่อแม่พันธุ์จากป่า และลูกผสมที่สั่งเข้ามาแล้วในอดีต ปี 2506 วงการกล้วยไม้ของไทยได้เริ่มมีแผนในการขยายข่ายงานออกไปประสานกับวงการกล้วย ไม้สากล เพื่อยกระดับวงการกล้วยไม้ในประเทศให้ทัดเทียมกับต่างประเทศ ปี 2509 เริ่มการทำสวนกล้วยไม้ตัดดอกอย่างจริงจัง เมื่อไทยเริ่มส่งออกกล้วยไม้ไปสู่ตลาดต่างประเทศในยุโรปตะวันตก เช่น สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน เนเธอร์แลนด์ และอิตาลี ต่อมาจึงขยายตลาดไปสู่ประเทศญี่ปุ่น แคนาดา และบางรัฐของสหรัฐอเมริกา.

ประวัติดอกลำดวน




              ประวัติดอกลำดวน




           สุดา ศรีลำดวน มีชื่อจริงว่า บุญมี ขันคำ มีชื่อเล่นว่า " ส้ม " (เพิ่งจะใช้ชื่อเล่นนี้ หลังจากเข้ามาอยู่ในวงการมานานหลายปี) เป็นชาวจ.ศรีสะเกษโดยกำเนิด จากครอบครัวเกษตรกรทำไร่ทำนาที่เจ้าตัวบอกว่า " จนที่สุดในหมู่บ้าน" สุดา ศรีลำดวน ชื่นชอบการฟังและร้องเพลงลูกทุ่งอย่างมาก และชอบที่จะแสดงความสามารถด้านการร้องเพลงของเธอต่อหน้าเพื่อนร่วมชั้นเรียนเป็นประจำ จนในที่สุดครูก็ส่งเป็นตัวแทนโรงเรียนไปประกวดร้องเพลงระหว่างโรงเรียนเป็นประจำจนจบการศึกษา
หลังจบการศึกษา สุดา ศรีลำดวน เดินทางเข้ากรุงเทพ และในที่สุดก็หันจับงานด้านการเดินเร่ขายเครื่องสำอาง ซึ่งชีวิตในช่วงนี้เธอลำบากมาก ถึงกับเคยคิดที่จะฆ่าตัวตาย แต่ในที่สุดก็ผ่านพ้นวิกฤติต่างๆมาได้ ชะตาชีวิตของสุดาเริ่มดีขึ้นหลังจากที่นำเครื่องสำอางมาขายให้กับบรรดานักร้องที่คาเฟ่แห่งหนึ่งชื่อ กาแลกซี่ คาเฟ่ และหลังจากที่แวะเวียนมาที่นี่หลายครั้ง ต่อมาก็ได้รู้จักกับแฟนเจ้าของคาเฟ่ ซึ่งเห็นว่าการเดินเร่ขายเครื่องสำอางเป็นงานที่ลำบาก จึงชวนมาเป็นเด็กเสิร์ฟที่คาเฟ แต่สุดาซึ่งไม่ชอบงานเสิร์ฟ ได้ขอสมัครเป็นนักร้องแทน ซึ่งก็ได้รับโอกาสให้ขึ้นไปร้องทดสอบต่อหน้าแขกที่มาเที่ยวในตอนนั้นเลย และก็ได้รับการชื่นชมจากแขกที่มาเที่ยวอย่างมาก จนได้รับเงินรางวัลมาถึง 3 พันบาท ทำให้เธอได้เข้าเป็นนักร้องประจำของที่นี่นับตั้งแต่บัดนั้น และได้รับคำชมจากแฟนเจ้าของคาเฟ่ว่าเธอเสียงดีกว่านักร้องทุกคนของคาเฟ่แห่งนี้
สุดา ศรีลำดวนเป็นนักร้องคาเฟ่ที่นี่อยู่ปีกว่า ก็มีคนชักชวนให้ขยับขยายไปร้องตามคาเฟ่ที่ใหญ่กว่า จึงย้ายมาร้องเพลงที่ เพลย์บอยคาเฟ่ แถวปิ่นเกล้า โดยหลังจากที่ทำงานได้ประมาณสิบกว่าวัน เธอก็ได้พบกับ ภมร อโนทัย นักจัดรายการวิทยุ นักประพันธ์เพลง และผู้จัดการของยิ่งยง ยอดบัวงาม ที่มาทำธุระที่คาเฟ่ หลังจากที่ได้ฟังเสียงของสุดา ศรีลำดวน ที่โดดเด่นแม้จะยืนร้องหมู่ร่วมกับนักร้องอีกหลายคน ก็เกิดความสนใจ จึงทาบทามให้เธอมาเป็นนักร้องบันทึกเสียงในสังกัดของเขา โดยบอกว่าแก้วเสียงของเธอเหมือนกับ จันทรา ศิริวรรณ ที่ลาออกไป จึงอยากได้สุดา ศรีลำดวนเข้ามาแทน แต่เธอยังไม่ตอบตกลง เพราะกล้วว่าโดนหลอก
ต่อมา สุดา ศรีลำดวน ได้พบกับภมร อโนทัยอีกครั้งที่คาเฟ่แห่งเดิม คราวนี้มียิ่งยง ยอดบัวงาม ติดตามมาด้วย การที่สุดา ศรีลำดวน มีความชื่นชอบยิ่งยงอยู่แล้ว ประกอบกับการเป็นคนบ้านเดียวกัน สุดา ศรีลำดวน จึงตัดสินใจมาอยู่ในสังกัดของ ภมร อโนทัย และเดินสายไปทำการแสดงกับวงของยิ่งยง สุดา ศรีลำดวน มีผลงานเพลงในแนวหวานออกมา 3 ชุด โดยเป็นชุดที่ร้องคู่กับยิ่งยง 2 ชุด แต่ไม่ค่อยประสบความสำเร็จมากนัก ชื่อเสียงของเธอยังไม่เป็นที่รู้จักของแฟนเพลงทั่ว
หลังจากหมดสัญญากับทาง อโนทัย โปรโมชั่น ทางด้านสมบัติ เมืองอุบล อดีตผู้จัดการของสายัณห์ สัญญา ได้พาเธอมาเข้าสังกัด ลีลา เร็คคอร์ด ของอิทธิ พลางกูร ที่ตั้งขึ้นใหม่เพื่อทำเพลงลูกทุ่ง โดยเธอเป็นนักร้องคนแรกของค่าย ซึ่งที่นี่ เธอได้หันมาจับแนวเพลงสนุกสนาน กุ๊กกิ๊ก โดยมีผลงานอัลบั้ม ชุด " น้าเขย" ออกมา โดยมีเพลง " น้าเขย " เป็นเพลงโปรโมต และนับตั้งแต่นั้น ชื่อของสุดา ศรีลำดวน ก็ได้รับการแจ้งเกินในวงการลูกทุ่งไทย
  • เพลงรักเพลงหวาน ชุดที่ 1 (สังกัด อโนทัย โปรโมชั่น)
  • ร้องคู่ยิ่งยง 1 (สังกัด อโนทัย โปรโมชั่น)
  • ร้องคู่ยิ่งยง 2 (สังกัด อโนทัย โปรโมชั่น)
  • น้าเขย (สังกัด ลีลา เร็คคอร์ด)
  • สวยไว้ก่อน (สังกัด มหาจักร)
  • ดิ้นไป ดิ้นมา (สังกัด ยูพีแอล)
  • คิดถึงพี่ทิด (สังกัด เอสวี อินเตอร์กรุ๊ป)
  • ห้องนอนคนเศร้า (สังกัด เอสวี อินเตอร์กรุ๊ป)
  • พ.ศ. 2552 อัลบั้ม หล่อระยะสุดท้าย (สังกัด
นพพร ซิลเวอร์โกลด์)